เผ่าพันธ์มนุษย์อาจเอาชนะโรคเบาหวานได้ด้วยวิวัฒนาการของตัวเอง

ฟรานเซส บรอดสกี นักวิทยาศาสตร์จาก ยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ แห่งลอนดอน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ว่า มนุษย์มีการวิวัฒนาการในการเอาชนะโรคเบาหวานมาตั้งแต่ยุคนีโอลิธิค ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของเกษตรกรรมและการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมาก

คุณบรอดสกี้อธิบายว่า มนุษย์มียีนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเรียกว่า CLTCL1 ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดที่ทำงานได้ไม่ดีนักกับชนิดที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มนุษย์ปัจจุบันมีไม่ถึงครึ่งที่มี CLTCL1 ชนิดประสิทธิภาพสูง ยีนชนิดนี้เริ่มพบในมนุษย์ตั้งแต่สมัยนีโอลิธิค ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกข้าวและธัญพืชอื่นๆ นั่นคือเป็นยุคที่มนุษย์เริ่มรับประทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นจนเป็นอาหารหลัก ซึ่งนำมาสู่ปัญหาระดับน้ำตาลในเลือดสูง การเป็นเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และน่าจะนำไปสู่การเลียชีวิตของมนุษย์จำนวนไม่น้อย มนุษย์ที่มียีน CLTCL1 ชนิดประสิทธิภาพสูง จึงน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามหลักวิวัฒนาการ “ความอยู่รอดของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่า (survival of the fittest” ซึ่งเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

เรารู้ว่่า โรคเบาหวาน มีพันธุกรรมเป็นปัจจัยเสียง ถ้าตามผลการวิจัยนี้ น่าจะบอกได้ว่า ผู้ที่ไม่มี CLTCL1 ชนิดประสิทธิภาพสูง มีความเสี่ยงทางพันธุกรรม นอกเหนือจากพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นแป้งและน้ำตาลซึ่งอาจสืบทอดกันมาในครอบครัวเดียวกัน

วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตใช้เวลานับหมื่นๆ ปี กว่าเราจะได้มนุษย์สายพันธ์ที่มี CLTCL1 ชนิดประสิทธิภาพสูงเป็นส่วนใหญ่คงนานเกินรอ สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้สำหรับคนที่มีปัจจัยเสียงทางพันธุกรรมก็คือ การลดหรืองดการบริโภคแป้งและน้ำตาล ตามที่เว็บไซต์นี้เรียกร้องมาตลอด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *